การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย


            การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย
  ดังที่กล่าวมาแล้วว่าวัฒนธรรมไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะและเป็นระเบียบแบบแผนชี้นำแนวทางความประพฤติและการปฏิบัติต่อกันในสังคมมาช้านาน  แต่สังคมไทยก็ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่หรือตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว  แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  อันเป็นผลมาจากปัจจัยภายในเช่น  การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร  สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เปลี่ยนไป  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  และปัจจัยภายนอก ได้แก่  การแลกเปลี่ยนและการหยิบยืมวัฒนธรรมจากสังคมอื่น  รวมทั้งอิทธิพลของโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ทำให้สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาซึ่งสามารถจำแนกการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย  ออกได้เป็น  2 ช่วง ดังนี้

4.1อิทธิพลของชาติตะวันตก


วัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยผูกพันกับวัฒนธรรมอินเดียและจีน  โดยได้มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทหรือสภาพแวดล้อมของสังคมไทย  โดยได้หยั่งรากฝังลึกในรูปแบบของความคิด  ความเชื่อ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พิธีกรรม อาหาร  มารยาท  และการดำเนินชีวิตอย่างแน่นแฟ้นจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์อิทธิพลของชาติตะวันตก  (ยุโรปและอเมริกา)  ได้แผ่ขยายเข้ามาครอบคลุมไปทั่วทวีปเอเชียและทั่วโลกในฐานะนักล่าอาณานิคม  ทำให้อินเดียตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและจีนฝ่ายแพ้สงครามฝิ่นกับอังกฤษ  ในขณะเดียวกันชาติยุโรปก็ได้เข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ  ทั่วทวีปเอเชีย

     ดังนั้น  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลลอมเกล้าอยู่หัวจึงทำการปฏิรูปและพัฒนาบ้านเมือง  เพื่อให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศและเพื่อให้รอดพ้นจากการคลุกคามของชาติจักรวรรดินิยมที่จะเข้ามายึดประเทศไทยเป็นเมืองขึ้น

     การปฏิรูปและการพัฒนาประเทศในครั้งนั้นได้นำเอาวัฒนธรรมของชาวยุโรปเข้ามาใช้ในแทบทุกส่วนของการดำเนินชีวิต  และใช้ทับซ้อนกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย  ก่อให้เกิดการผสมผสานระว่างวัฒนธรรมขึ้น  โดยผู้คนจะรักษาและยึดถือทั้งที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก

     ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาประเทศไทยรับความรู้ ความคิด  และวิทยาการแผนใหม่ของชาวตะวันตกมามากมาย  อันได้แก่  การพิมพ์ การแพทย์  การศึกษา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การคมนาคมขนส่ง  การปกครอง  การแต่งกาย  เป็นต้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์หมอบรัดเลย์ได้นำการแพทย์สมัยใหม่เข้ามารักษาคนไทย  มีการตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษและวิทยาการแผนใหม่โดยคณะมิชชันนารีเมื่อปี พ.ศ. 2395 คือ  โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนในปัจจุบันรวมทั้งได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคมที่สำคัญของประเทศไทย  นั่นคือการเลิกทาสในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวอีกด้วย

     อาจกล่าวได้ว่า  การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสประเทศต่างๆในยุโรปหลายครั้ง  เพื่อผูกมิตรกับชาติมหาอำนาจต่างๆ นั้น ก่อให้เกิดผลดีต่อฐานะของประเทศในหมู่ประชาคมโลก  เพราะทำให้ไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคม

     การปฏิรูปประเทศตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4  เป็นต้นมา  ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในด้านต่างๆ มากมาย  วัฒนธรรมทั้งที่เป็นวัตถุและอวัตถุแตกต่างจากที่เคยเป็นอยู่มาแต่เดิม  เกิดค่านิยมใหม่ที่เน้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นมีการใช้สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคที่หลากหลาย และดำเนินชีวิตแบบสมัยใหม่มากขึ้น



4.2การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

     นับตั้งแต่ประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในปี  พ.ศ.2504 เป็นต้นมา  ประเทศไทยเปลี่ยนเป้าหมายของประเทศชาติเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นตัวหลัก  จึงได้เร่งรัดให้ทุกภาคส่วนของสังคมสร้างผลผลิตให้มากขึ้น  มีการนำเทคนิค และ วิทยาการจากประเทศตะวันตกมาปรับใช้อย่างกว้างขวาง  ขยายโครงสร้างพื้นฐาน เช่น  ถนน ท่าเรือ ไฟฟ้า ตลอดจนการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น  โดยเน้นการพัฒนาความรู้ ทักษะ เพื่อการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญ

     ในขณะเดียวกันวัฒนธรรมของไทยก็ต้องปรับให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  โดยยึดหลักความมีประสิทธิภาพประสิทธิผลของการดำรงชีวิต  ความสะดวกสบายแต่การพัฒนาในลักษณะดังกล่าวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ไม่เท่ากัน เช่น  การพัฒนาทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าการเปลี่ยนแปลงทางด้านครอบครัว  จนก่อให้เกิดภาวะล้าหลังทางวัฒนธรรม (culture lag)

และกลายเป็นปัญหาทางสังคมขึ้นมา

     ซึ่งปัญหาสังคมที่พบเห็นทั่วไป  ได้แก่การหย่าร้างสูงขึ้น  เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งเพราะคนวัยแรงงานไปทำงานต่างถิ่น  ครอบครัวที่มีฐานะปานกลางมีปัญหาพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก  ทำให้เด็กขาดความอบอุ่นและหาทางออกของชีวิตอย่างผิดๆ เช่น ติดยาเสพติดมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น

     นอกจากนี้  การเปลี่ยนจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง  ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนในสังคมปรับเปลี่ยนไป

มีลักษณะต่างคนต่างอยู่  ขาดปฏิสัมพันธ์ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน

     ดังนั้น  ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 25402544) เป็นต้นมา  จึงได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาประเทศ  โดยหันกลับมามุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนไทย  ดึงเอาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์  แทนการนำวัฒนธรรมของสังคมอื่นมาใช้โดยไม่ไตร่ตรองอย่างรอบคอบว่าสิ่งใดเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา

     สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในทุกๆ  ด้านตลอดเวลา  ทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปจกเดิมมาก  โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร  และเมืองใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา นครราชสีมา เป็นต้น

การดำเนินชีวิตของคนในสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกันเพราะคนในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ๆ ต่างใช้
ชีวิตด้วยความเร่ารีบ  ขาดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของคนในครอบครัวและคนอื่นๆ  ในสังคม แผนพัฒนา ฯ
ฉบับนี้จึงได้เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนไทยมากกว่าที่ผ่านมา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลงาน

ผลงานบทเรียนออนไลน์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 เรื่อง อะตอมและตารางธาตุพื้นฐาน เรื่...