วัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆของไทย

วัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆของไทย


วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ

          เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวล้านช้างที่ยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของพระพุทธศาสนา ที่แสดงออกถึงมิตรไมตรีและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน จึงถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งที่คนในท้องถิ่นภาคเหนือยังรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน ในที่นี้จะกล่าวถึงตัวอย่างวัฒนธรรมที่สำคัญของภาคเหนือ ดังนี้
๑.ด้านอาหาร
โดยตัวอย่างของวัฒนธรรมในด้านนี้ ได้แก่ ประเพณีเลี้ยงข้าวแลงขันโตกหรือกิ๋นข้าวแลงขันโตก เป็นประเพณีของชาวล้านนา ผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือตอนบนและใช้ภาษาไทยเหนือเป็นภาพูด มีการตกแต่งสถานที่อย่างสวยงาม มีอาหารภาคเหนือมากมายหลายชนิด เจ้าภาพและแขกเหรื่อจะแต่งกายแบบพื้นเมืองทั้งชายและหญิง




๒.ด้านศาสนาและลัทธิความเชื่อ  ตัวอย่างวัฒนธรรมในด้านนี้ ได้แก่


   ๑)การทำบุญทอดผ้าป่าแถว จะกระทำกันในเขตตัวอำเภอและอำเภอนอกรอบของจังหวัดกำแพงเพชร โดยกระทำพร้อมกันทุกวัดในคืนวันลอยกระทงหรือวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือน๑๒ โดยชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะจัดหากิ่งไม้ เทียนไข ผ้า ข้าวสาร อาหารแห้ง ผลไม้ และบริขารของใช้ต่างๆ พอตกกลางคืนราว ๑๙.๐๐ น. ชาวบ้านจะนำองค์ผ้าป่าไปไว้ในลานวัด จัดให้เป็นระเบียบแล้วนำผ้าพาดบนกิ่งไม้ นำเครื่องไทยธรรมที่เตรียมไว้มาวางใต้กิ่งไม้ พอถึงเวลามรรคนายกวัดจะป่าวร้องให้เจ้าของผ้าป่าไปจับฉลากรายนามพระภิกษุ


๒) งานทำบุญตานก๋วยสลากหรือการทำบุญสลากภัต(ทานสลาก) จะทำในช่วงวันเพ็ญเดือน ๑๒ (วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒) ถึงเดือนเกี๋ยงดับ (วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) หรือราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี ชาวเหนือหรือชาวล้านนาไทยจะทำบุญตานก๋วยสลากหรือกิ๋นก๋วยสลาก
          ก๋วยสลากมี ๒ ชนิด คือ ก๋วยเล็ก จะมียอดเงินมามากนักใช้เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ผีปู่ย่าตายายที่ล่วงลับหรืออุทิศส่วนกุศลเพื่อตนเองในภายภาคหน้า ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็นก๋วยใหญ่ เรียกว่า สลากโจ้ก (สลากโชค) ส่วนมากจะจัดทำขึ้น เพื่อให้อานิสงส์เกิดแก่ตนเอง ในภพหน้าจะได้มีกินมีใช้ เกิดความมั่งมีศรีสุขเหมือนในชาตินี้


) งานประเพณีการสืบชะตาหรือการต่ออายุ ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา กระทำขึ้นเพื่อยืดชีวิตด้วยการทำพิธีเพื่อให้เกิดพลังรอดพ้นความตายได้ เป็นประเพณีที่คนล้านนานิยมกระทำจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ประเพณีการสืบชะตาคน ประเพณีการสืบชะตาบ้าน และสืบชะตาเมือง



วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง

 วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลางส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธสาสนา เช่นเดียวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปบ้าง เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สภาพสังคม และค่านิยมในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ลักษณะวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียบประเพณีโดยรวมมีความเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อในการดำเนินชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของวัฒนธรรมไทย ตัวอย่างวัฒนธรรมทางภาคกลางที่สำคัญ ดังนี้


๑. ด้านศาสนาและลัทธิความเชื่อ

)ประเพณีรับบัวโยนบัว มีขึ้นที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นประเพรีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมากกว่า ๘๐ ปี โดยชาวบ้านเชื่อตามตำนานว่า หลวงพ่อโตลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยามาหยุดที่ปากคลองสำโรงเป็นการแสดงเจตจำนงอันแน่วแน่ว่าจะจำพรรษาอยู่ในละแวกนั้นอย่างแน่นอน ชาวบ้านจึงช่วยกันรั้งนิมนต์เข้ามาจนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานในปัจจุบัน แล้วอันเชิญขึ้นไว้ในโบสถ์ หลวงพ่อโตจึงเป็นหลวงพ่อของชาวบ้านบางพลีตั้งแต่นั้นมา

) การบูชารอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยรอยพระพุทธบาทเป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เพราะเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติและศาสนา เป็นที่รู้จักแพร่หลายของประชาชน และเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาลบูชาพระพุทธบาท คือ ช่วงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๔ ประชาชนทั่วทุกสารทิศทั้งในเพสบรรพชิตและคฤหัสถ์ต่างหลั่งไหลมานมัสการรอยพระพุทธบาทในพระมณฑป อันเป็นการเชื่อมโยงความรู้สึกนึกคิดของพุทธบริษัททั้งหลายให้รู้สึกผูกพันต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาอย่างเหนียวแน่นตลอดมา

๒. ด้านที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตทางการเกษตร ได้แก่ การทำขวัญข้าวเป็นประเพณีที่ยังคงทำกันอย่างกว้างขว้างในหมู่ของคนไทยภาคกลาง ไทยพวน และไทยอีสานทั่วไป โดยจะนิยมทำกันเป็นระยะ คือ ก่อนข้าวออกรวง หลังจากนวดข้าวและขนข้าวขึ้นยุ้ง สำหรับการเรียกขวัญก่อนข้าวออกรวงจะนิยมทำกันตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นต้นไป ผู้ที่จะเรียกขวัญจะเป็นผู้หญิง ซึ่งจะแต่งกายให้สวยงามกว่าธรรมดา พอถึงที่นาของตน ก็จะปักเรือนขวัญข้าวลงในนา จากนั้นก็นำผ้าซิ่นไปพาดกับต้นข้าว เอาขนมนมเนย ของเปรี้ยว ของเค็ม เครื่องประดับ ของหอมต่างๆ หมาก พลู และบุหรี่ ใส่ลงไปในเรือนขวัญข้าว จากนั้นก็จุดธูป ๘ ดอก เทียน ๑ เล่ม และนั่งพนมมือเรียกขวัญข้าว พอเสร็จพิธีเรียกขวัญแล้วผู้ทำพิธีเรียกขวัญก็จะเก็บข้าวของที่มีค่าบางส่วนกลับบ้าน ส่วนเครื่องสังเวยอื่นๆก็จะทิ้งไว้ในเรือนขวัญข้าวนั้นต่อไป การทำขวัญข้าวเป็นความเชื่อของชาวนาว่าจะทำให้ข้าวออกรวงมาก ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำกันมาแต่ดั้งเดิม



๓. ด้านยาและการรักษาพื้นบ้าน  จาการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมตำรายาพื้นบ้านในจังหวัดชลบุรี โดยได้มีการสัมภาษณ์แพทย์แผนโบราณ และค้นคว้าจากตำราที่บันทึกอยู่ในใบลาน สมุดข่อยขาว สมุดข่อยดำ พบว่ามีตำราไทยแผนโบราณทั้งหมด ๓๑๘ ขนาน ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันมี ๑๓๘ ขนาน จำแนกตามคุณสมบัติ เช่น ยาแก้ไข้ ๑๒ ขนาน ยาแก้ท้องเสีย ๖ ขนาน ยาขับโลหิต ๒๙ ขนาน ยาแก้ไอ ๑ ขนาน ยาแก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ ๒ ขนาน ยาแก้ลม ๑๑ ขนาน  เป็นต้น ยาส่วยใหญ่เป็นพืชสมุนไพร และแร่ธาตุ
นอกจากนี้ ยังมีประเพณีวัฒนธรรมของภาคกลางอีกจำนวนมาก ที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน เช่น งานพิธีทิ้งกระจาดของจังหวัดสุพรรณบุรี งานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ งานประเพณีตักบาตรเทโวของจังหวัดอุทัยธานี ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น





วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ชนพื้นเมืองถิ่นอีสานดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย  มีโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์บนพื้นฐานประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมต่างๆ  ของภาคอีสานเป็นการนำแนวคิด ความศรัทธา และความเชื่อที่สั่งสมและสืบทอดเป็นมรดกต่อกันมา ตัวอย่างวัฒนธรรมในด้านต่างๆ  มีดังนี้

 . ด้านอาหาร ชาวอีสานนิยมบริโภคพืชผักพื้นบ้านที่เพาะปลูกเอง และหาได้จากธรรมชาติตามฤดูกาล โดยพืชผักที่นิยมนำมาปรุงอาหารเช่นผัก ผักขะแยง ผักหวานป่า ใบย่านาง ผักเสี้ยน ผักปลัง หน่อไม้ เห็ดชนิดต่างๆ เป็นต้น ซึ่งกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุขได้วิเคราะห์แล้วว่าพืชผักที่ชาวอีสานที่ชาวอีสานนิยมนำมาบริโภคให้คุณค่าทางโภชนาการสูง และบางชนิดยังเป็นสมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี
กรรมวิธีการปรุงอาหาร พบว่าชาวอีสานมีวิธีการปรุงโดยเก็บพืชผักมาประกอบรวมกับเนื้อสัตว์ แล้วทำให้สุก เช่น นึ่ง ต้ม ย่าง เป็นต้น และเรียกอาหารที่ประกอบแล้วได้ ๑๘ วิธี เช่น แกงอ่อม หมก ยำ คั่ว ป่น หลน ซุบ ลาบ ก้อย แจ่ว หลาม เป็นต้น

. ด้านศาสนาและลัทธิความเชื่อ เช่น
)บุญบั้งไฟ  เป็นประเพณีสำคัญของชาวอีสาน นิยมทำในงานเทศกาลเดือนห้าฟ้าหก (ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคมของปี) ในช่วงนี้ชาวนาจะเตรียมไถนาจึงขอให้ฝนตก จากความเชื่อในเรื่องของสิ่งลี้ลับและเทวดาหรือพญาแถนที่อยู่บนสวรรค์ สามารถบันดาลให้ฝนตกฟ้าร้องได้ จึงมีการจัดพิธีบูชาพญาแถนทุกปีด้วยการทำบุญบั้งไฟ

) การแห่ผีตาโขนที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ผู้เล่นจะนำรูปหน้ากากที่มีลักษณะหน้าเกลียดน่ากลัวมาสวมใส่และแต่งตัวมิดชิด แล้วเข้าขบวนแห่แสดงท่าทางต่างๆ ในระหว่างมีงานบุญประเพณีประจำปีท้องถิ่น การแห่ผีตาโขนหรือที่อำเภอด่านซ้ายเรียกว่า บุญหลวง เป็นการรวบรวมเอาบุญประเพณีบุญพระเวสและบุญบั้งไฟเข้าด้วยกัน โดยจะจัดขึ้นในช่วงวันข้างขึ้น เดือน ๘ นิยมทำกัน ๓ วัน



. ด้านที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตทางเกษตร ได้แก่ งานบุญคูนลาน เมื่อชาวนาในพื้นถิ่นพื้นถิ่นอีสานเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ก็จะนำข้าวที่เกี่ยวมามัดเป็นฟ่อน และนำฟ่อนข้าวมารวมกองไว้ที่ลานเพื่อนวด เมื่อนวดข้าวเสร็จก็นิยมทำกองข้าวที่นวดให้สูงขึ้นจากพื้นลานเรียกว่า คูนลานผู้ที่ได้ข้าวมากก็มักจะจัดทำบุญกองข้าวขึ้นที่ลาน
ชาวอีสานถือว่าบุญคูนลานเป็นประเพณีหนึ่งในฮีตสิบสองหรืองานทำบุญก็สำคัญในรอบหนึ่งปีของคนในภูมิภาคนี้ งานบุญคูนลานก็คืองานทำขวัญข้าวก่อนขนข้าวมาสู่ยุ้งฉาง ชาวบ้านจึงทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคล เพิ่มความมั่งมีศรีสุขแก่ตนและครอบครัว และเพื่ออันเชิญขวัญข้าว คือ พระแม่โพสพให้มาอยู่ประจำข้าว การทำนาข้าวจะได้ผลอุดมสมบูรณ์และผู้คนจะไม่อดอยาก


วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้

ภาคใต้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน เป็นแหล่งรับอารยธรรมจากพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาอิสลาม ซึ่งได้หล่อหลอมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิม ก่อให้เกิดการบูรณาการเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
๑. ด้านอาหาร ได้แก่ ประเพณีกินผักหรือที่ชาวบ้านและชาวจีนที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ตเรียกกันว่า เจี๋ยะฉ่ายเป็นประเพณีที่คนจีนนับถือมาช้านาน โดยเฉพาะคนจีนฮกเกี้ยน วันประกอบพิธีจะตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึง วันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ตามปฏิทินจีนของทุกๆปี




๒. ด้านศาสนาและลัทธิความเชื่อ เช่น

๑) ประเพณีลากพระ ซักพระ หรือแห่พระ ชาวใต้ปฏิบัติกันมานานตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ชาวบ้านที่เป็นพุทธศาสนิกชนจะพร้อมใจกันอันเชิญพระพุทธรูปจากวัดขึ้นประดิษฐาน นมพระ หรือบุษบกที่วางอยู่ตรงกลางร้านไม้ ร้านไม้นี้จะวางไว้บนไม้ขนาดใหญ่สองท่อนอีกทีหนึ่ง หรือใช้นมพระวางบนล้อเลื่อน รถ หรือเรือ  แล้วลากหรือชักแห่ไปตามถนนหนทาง ตามแม่น้ำลำคลอง หรือริมฝั่งทะเล เคยมีผู้สันนิษฐานว่าประเพณีลากพระเกิดขึ้นในประเทศอินเดียตามลัทธิของพราหมณ์ที่นิยมเอาเทวรูปออกแห่แหนในโอกาสต่างๆ และชาวพุทธได้นำเอาประเพณีนั้นมาดัดแปลง



) ประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว





๓. ด้านศิลปะ ได้แก่ การรำโนราเป็นศิลปะพื้นบ้านที่เก่าแก่ของภาคใต้ ซึ่งนอกจากจะแสดงเพื่อความบันเทิงแล้ว ยังแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เรียกว่า โนราโรงครูหรือโนราลงครูอีกด้วย พิธีกรรมนี้มีจุดมุ่งหมายในการจัดเพื่อไหว้ครูหรือไหว้ตายายโนรา อันเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อครู เพื่อทำพิธีแก้บน เพื่อทำพิธียอมรับเป็นศิลปินโนราคนใหม่ และเพื่อประกอบพิธีเบ็ดเตล็ด








         




















 [M1]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลงาน

ผลงานบทเรียนออนไลน์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 เรื่อง อะตอมและตารางธาตุพื้นฐาน เรื่...